Monday, February 12, 2007

เราเตอร์ (Router)ต่อ


ใช้งานง่าย ปรับแต่งผ่านเวบ
เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายในปัจจุบัน เราสามารถปรับแต่งการทำงานของ SP3368 ได้ผ่านทางโปรแกรมเวบเบราเซอร์ ไม่ว่าจะเป็น Internet Explorer หรือ Firefox ด้วยการล็อกเข้าไปที่ IP Address 192.168.0.1 เท่านั้น ก็สามารถเข้าไปปรับแต่งการทำงาน ทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อแบบมีสายและไร้สาย
จุดเด่น :
- เป็น ADSL Router และ Access Point ในตัว
- สนับสนุนความเร็ว WALN สูงสุด 108Mbps

เราเตอร์ (Router)ต่อ



กระแสอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเทียบเท่าสายวงจรเช่า แต่ราคาถูกกว่ามาก ซึ่งการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในองค์กรนั้น หนึ่งในอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้คือ เราเตอร์ ADSL ที่จะทำหน้าที่เชื่อมสายการสื่อสาร ADSL เข้ากับระบบเครือข่ายที่มีอยู่แล้วในองค์กร เพื่อให้เครื่องลูกข่ายในองค์กรสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ผ่านทางระบบเครือข่าย
ครบเครื่องทั้งมีสายและไร้สาย
SP3368 เป็น ADSL เราเตอร์ที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดตัวหนึ่งในปัจจุบัน เพราะสามารถทำงานได้ทั้งกับระบบเครือข่ายแบบมีสายและไร้สายได้ในอุปกรณ์ตัวเดียว โดยตัวเครื่องประกอบด้วยพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นคอนเนกเตอร์ RJ-11 สำหรับเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ ADSL และคอนเนกเตอร์ RJ-45 อีก 4 ชุดสำหรับต่อเครื่องลูกข่ายได้ถึง 4 ตัว หรือหากต้องการต่อขาย ก็สามารถขยายได้ยังสวิตช์หรือฮับที่มีอยู่แล้วของระบบเครือข่ายก็ได้
หรือหากองค์กรของคุณยังไม่มีการเดินสาย LAN ไว้ SP3368 ก็ยังทำหน้าที่เป็น Access Point ของระบบเครือข่ายไร้สายได้ในตัว โดยมีเสาอากาศจำนวน 2 ชุดเป็นตัวรับสัญญาณ ซึ่งโน้ตบุ๊คแทบทุกรุ่นในปัจจุบันก็ได้รับการติดตั้งการ์ด LAN ไร้สายไว้ในตัวอยู่แล้ว จึงสามารถเข้าใช้งานได้เลยทันที ส่วนเครี่องเดสก์ท็อปนั้นคุณสามารถหาซื้อการ์ด WLAN แบบติดตั้งภายในหรือแบบติดตั้งภายนอกผ่านพอร์ต USB ซึ่งปัจจุบันมีราคาถูกมากมาใช้งานก็ได้ และที่สำคัญ SP3368 ตัวนี้ยังให้ความเร็วในการเชื่อมต่อ WLAN สูงสุดถึง 108Mbps เรียกว่าสามารถใช้งานทดแทนระบบเครือข่ายแบบมีสายได้อย่างสมบูรณ์แบบ

เราเตอร์ (Router) ต่อ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมีหลายประเภทด้วยกัน อุปกรณ์แต่ละชนิดมีขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้งแลน และแวน ประกอบด้วย บริดจ์ เราเตอร์ และสวิตซ์
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายสองเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับอีเทอร์เน็ต บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่งข้อมูลแบบกระจาย (boardcasting) ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพกเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเสมือนเป็นตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายของตนไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเกนริง เป็นต้น
หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบแลนและแวน อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยง คือ เราเตอร์ เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทางที่ส่งต่อมีมาตรฐานทางเครือข่ายที่แตกต่างออกไป ก็จะแปลงให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เช่น รับข้อมูลมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อทางพอร์ตแวนที่เป็นแบบจุดไปจุด ก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่ายแวนได้
ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมาก ทำให้การใช้งานเราเตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเองได้
เมื่อเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการทำงานได้เร็วขึ้น จึงมีผู้พัฒนาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ตหรือเรียกว่าสวิตช์แพ็กเก็ตข้อมูล โดยลดระยะเวลาการตรวจสอบแอดเดรสลงไป การคัดแยกจะกระทำในระดับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเชิงความ เร็วและความแม่นยำสูงสุด อุปกรณ์สวิตช์จึงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สวิตช์แพ็กเก็ตข้อมูลจากอินพุตไปยังเอาท์พุตพอร์ตที่ต้องการสวิตช์ข้อมูลจึงมีเวลาหน่วงภายในตัวสวิตช์ต่ำมาก จึงสามารถนำมาประยุกต์กับงานที่ต้องการเวลาจริง เช่น การส่งสัญญาณเสียง วิดิโอ ได้ดี
อุปกรณ์สวิตช์ มีหลายแบบ หากแบ่งกลุ่มข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเล็ก ๆ และเรียกใหม่ว่า เซล ก็กลายเป็น เซลสวิตช์ หรือที่รู้จักกันในนาม เอทีเอ็มสวิตช์ ถ้าสวิตช์ข้อมูลในระดับเฟรมของอีเทอร์เน็ต ก็เรียกว่า อีเทอร์เน็ตสวิตซ์ และถ้าสวิตซ์ตามมาตรฐานเฟรมข้อมูลที่เป็นกลางและสามารถนำข้อมูลอื่นมาประกอบภายในได้ ก็เรียกว่า เฟรมรีเลย์
อุปกรณ์สวิตซิ่งจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ใช้กับความเร็วของการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เช่น เฟรมรีเลย์ และเอทีเอ็มสวิตช์ สามารถสวิตช์ข้อมูลขนาดหลายร้อยล้านบิตต่อวินาทีได้ เทคโนโลยีนี้จึงเป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยม
การออกแบบและจัดรูปแบบเครือข่ายในองค์กรที่เป็นอินทราเน็ต ซึ่งเชื่อมโยงได้ทั้งระบบแลน และแวน จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงต่าง ๆ เหล่านี้ อุปกรณ์เชื่อมโยงทั้งหมดนี้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากเครือข่ายพื้นฐานเป็นอีเทอร์เน็ต ก็สามารถเชื่อมเข้าสู่เอทีเอ็มสวิตซ์ เฟรมรีเลย์ หรือบริดจ์ เราเตอร์ได้ ทำให้ขนาดของเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น
เทคโนโลยีการเชื่อมต่อจึงเป็นเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะอุปกรณ์ที่ใช้หลัก จะเป็นอุปกรณ์ดังที่กล่าวมานี้

เราเตอร์ (Router)

เมื่อต้องการเชื่อมเครือข่ายย่อยหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบที่ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เชื่อมโยงถึงกัน โดยทั่วไปเรามักใช้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นชุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า แพ็กเก็ต ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตสามารถเคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางได้ โดยผ่านอุปกรณ์เลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางสามารถเลือกผ่านทั้งทางด้านเครือข่ายแลนและแวน
โดยปกติมีการกำหนดแอดเดรสของตัวรับและตัวส่ง ดังนั้นจึงต้องมีแอดเดรสปรากฏอยู่ในแพ็กเก็ต อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายทุกหน่วยจึงมีแอดเดรสกำกับ แอดเดรสหรือตำแหน่งที่อยู่มีรูปแบบที่ชัดเจน ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐาน เช่น แอดเดรสที่ใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้รหัสตัวเลข 32 บิต ที่เรียกว่าไอพีแอดเดรส แพ็กเก็ตข้อมูลทุกแพ็กเก็ตจึงมีข้อมูลที่บ่งบอกว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากที่ใด และปลายทางอยู่ที่ใด
การเลือกเส้นทางจึงขึ้นอยู่กับแอดเดรสที่กำหนดในแพ็กเก็ต เมื่อแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านมายังอุปกรณ์ต่าง ๆ อุปกรณ์เหล่านั้นจะตรวจสอบดูว่า แอดเดรสต้นทางและปลายทางอยู่ที่ใด จะส่งผ่านแพ็กเก็ตนั้นไปยังเส้นทางใด เพื่อให้ถึงจุดหมายตามต้องการ